เมนู

ยังพอทนได้แลหรือ ? คือ พวกเธอยังอาจเพื่ออดทนอดกลั้น เพื่อบริหารได้
ละหรือ ? สรีรยนต์ของพวกเธอ ไม่ให้ทุกข์อะไร ๆ เกิดขึ้นบ้างหรือ ?
ข้อว่า กจฺจิ ยาปนิยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
พวกเธอยังอาจเพื่อให้สรีรยนต์เป็นไป คือ ให้ดำเนินไปในกิจทั้งปวงบ้างหรือ ?
สรีรยนต์ ของพวกเธอไม่แสดงอันตรายอะไร ๆ บ้างหรือ ?
สองบทว่า กุจฺฉิ ปริกนฺโต ความว่า ท้องอันพวกเธอคว้านแล้ว
พึงเป็นของดีกว่า. ปาฐะว่า กุจฺฉิ ปริกตฺโถ บ้าง ก็ใช้ได้.

[โจรภายนอกศาสนาเที่ยวปล้นบ้านชายแดนเป็นต้น]


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนพวกภิกษุผู้อยู่ริมฝั่ง
แม่น้ำวัคคมุทา โดยอเนกปริยาย อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มา. ก็แล ครั้นตรัสเรียกมาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มหาโจร
5 จำพวกเหล่านี้ เป็นต้น เพื่อมิให้ภิกษุแม้เหล่าอื่นกระทำกรรมเห็นปานนั้น
ต่อไป เพราะกรรมที่ภิกษุผู้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาเหล่านั้นกระทำ จัดเป็น
โจรกรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สนฺโต สํวิชฺชมานา มีคำอธิบาย
ว่า มีอยู่ และหาได้อยู่.
บทว่า อธิ คือ ในสัตวโลกนี้.
สองบทว่า เอวํ โหติ ความว่า ความปรารถนาในส่วนเบื้องต้น
ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้. ศัพท์ว่า สุ ในคำว่า กทาสุ นามาหํ นี้ เป็นนิบาต.
ความว่า ชื่อ เมื่อไรหนอ ?
ข้อว่า โส อปเรน สมเยน ความว่า มหาโจรนั้น ครั้นคิดใน
ส่วนเบื้องต้นอย่างนั้นแล้ว ก็เพิ่มพูนบริษัทขึ้นโดยลำดับ กระทำกรรมมีอาทิ

อย่างนั้น คือ กรรมเป็นเหตุประทุษร้ายคนเดินทาง ปล้นสดมภ์ชาวบ้านที่ตั้ง
อยู่ชายแดน เป็นบุรุษผู้ถึงความเจริญไพบูลย์ขึ้นแล้ว ทำบ้านมิไห้เป็นบ้านบ้าง
ทำชนบทมิให้เป็นชนบทบ้าง ฆ่าเอง ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผา-
ผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ.

[มหาโจรในพระศาสนาเที่ยวย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโจรภายนอกอย่างนี้แล้ว จึงตรัส
พระดำรัสว่า เอวเมว โข เป็นต้น เพื่อทรงแสดงมหาโจร 5 จำพวกใน
พระศาสนา ผู้เช่นกับโจรภายนอกนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปภิกฺขุโน ความว่า ในที่อื่นๆ
ภิกษุผู้ต้องปาราชิก มีมูลขาดแล้ว ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้เลวทราม. ส่วนใน
สิกขาบทนี้ ภิกษุผู้มิได้ต้องปาราชิก แต่ตั้งอยู่ในอิจฉาจารเที่ยวย่ำยีสิกขาบท
น้อยใหญ่ ท่านประสงค์เอาว่า ภิกษุผู้เลวทราม ความปรารถนาในส่วนเบื้อง
ต้น ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ภิกษุผู้เลวทรามนั้น เหมือนเกิดขึ้นแก่มหาโจรภายนอก
อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ ? เราจงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง
แวดล้อมแล้ว เที่ยวจารึกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์
และบรรพชิตสักการะ เคารพนับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณ -
ฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช ปริขาร. *

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกโต ได้แก่ ผู้ประสบสักการะ.
บทว่า ครุกโต ได้แก่ ผู้ได้รับความเคารพ.
บทว่า มานิโต ได้แก่ ผู้อันเขารักด้วยน้ำใจ.
บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อันเขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชา คือนำมา
เฉพาะซึ่งปัจจัยทั้ง 4.
//* วิ. มหา. 1/14.169 - 170